ในการเรียนและการสอบภาษาอังกฤษ นอกจาก Tense ทั้ง 12 แล้ว อีกหนึ่งไวยากรณ์สำคัญที่จำเป็นต้องรู้คือ Part of Speech เพราะถือเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการใช้ภาษาอังกฤษ ทั้งในแง่ของการฟัง พูด อ่าน เขียน เมื่อน้อง ๆ รู้จักประเภทและหน้าที่ของคำจะทำให้การเรียนภาษาอังกฤษของน้อง ๆ ง่ายขึ้น
Part of Speech คืออะไร?
Part of Speech คือ ชนิดของคำในภาษาอังกฤษ ซึ่งแต่ละชนิดจะมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป โดยสามารถแบ่งประเภทของ Part of Speech ในภาษาอังกฤษได้เป็น 7 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ คำนาม (Noun), คำกริยา (Verb), คำกริยาวิเศษณ์ (Adverb), คำคุณศัพท์ (Adjective), คำบุพบท (Preposition), คำสรรพนาม (Pronoun), และคำสันธาน (Conjunction)
นอกจาก 7 ประเภทหลัก ๆ ข้างต้นแล้ว คำอุทาน (Interjection) และคำนำหน้านาม (Determiner) เช่น a an the ก็นับเป็น Part of Speech ของคำในภาษาอังกฤษเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม บทความที่พี่ ๆ W Education จะมานำเสนอน้อง ๆ วันนี้จะมุ่งเน้นไปที่ 7 Parts of Speech หลักดังนี้
1.คำนาม (Noun)
Noun หรือ คำนาม คือ คำที่ใช้นิยามสิ่งของ คน สถานที่ สัตว์ คุณสมบัติ อารมณ์ แนวคิด เช่น Happiness, Parliament, Women เป็นต้น คำนามสามารถเป็นได้ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์ ทำหน้าที่เป็นได้ทั้งประธาน กรรมตรง กรรมรอง กรรมของคำสันธานและส่วนขยายประธาน คำนามสามารถแบ่งออกเป็นประเภทย่อย ๆ ได้ ดังนี้
Proper Nouns (คำนามเฉพาะ) เช่น ชื่อคน ชื่อสถานที่ เป็นต้น
-> Taylor Swift, Bangkok, Thailand, Wednesday, October
Common Nouns (คำนามทั่วไป)
-> Town, Cat, Men, Women, Tower, Office
Collective Nouns (สมุหนาม) คือ คำนามที่ใช้เรียกหรือสิ่งของที่เป็นกลุ่ม พวก หรือฝูง
-> A choir of singers คณะนักร้องคณะหนึ่ง
-> A bunch of flowers ช่อดอกไม้หนึ่ง
-> A hive of bees ผึ้งรังหนึ่ง
Abstract Noun (อาการนาม) คือ คำนามที่บอกกริยาอาการ
-> Happiness, Anger, Sadness, Melancholy, Fear
ตัวอย่างการใช้คำนานในประโยค
-> My new classmate comes from Germany.
-> Jenny bought Taylor’s new album yesterday.
-> Her sister is a famous artist.
Tip: น้อง ๆ สามารถสังเกตคำนามได้ทั้งจากตำแหน่งของคำนามและรากศัพท์ที่ลงท้ายคำนาม (noun suffixes) เช่น
👉🏼 -er : Mother, Teacher, Firefighter
👉🏼 -ion : explosion, explanation, attention
👉🏼 -ness : politeness, happiness, punishment
2.คำกริยา (Verb)
Verb หรือ คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการหรือการกระทำของสรรพนามหรือคำนามในประโยค
Transitive Verb คือ คำกริยาที่ต้องการกรรมมารองรับเพื่อสร้างใจความที่สมบูรณ์ เช่น
love -> Jane loves her pet.
buy -> John buys a new apartment.
have -> Jay has five books of gothic novels.
Intransitive Verb คือ คำที่ไม่ต้องการกรรมมารองรับก็ยังคงใจความที่สมบูรณ์ไว้ได้ เช่น
walk -> She walks to school everyday.
stand -> She’s standing over there for an hour.
sleep -> He’s sleeping like a log
Action Verb คือ กริยาที่บอกการกระทำ ซึ่งสามารถตามเติม -ing เพื่อแสดงว่าเหตุการณ์นั้นกำลังดำเนินอยู่ สามารถเป็นได้ทั้ง transitive และ intransitive verb เช่น
-> She’s reading a novel in the corner of the room.
-> Tom’s running to Emma's house to tell her some good news Linking Verb คือ เป็นคำกริยาที่ไม่ต้องการกรรมมารองรับ เช่น look, seem, remain, sound และเป็นVerb to be ที่ต้องการคำนามหรือคำคุณศัพท์มาเติมให้ได้ใจความที่สมบูรณ์ เช่น
-> What she told us sounds very interesting
-> She has been a singer for 10 years.
Helping Verb คือ คำกริยาช่วยที่ที่ทำให้ประโยคสมบูรณ์ เนื่องจากคำกริยาหลักของประโยคไม่สามาถทำให้ประโยคสมบูรณ์ได้ ประกอบไปด้วย verb to be, verb to have, verb to do และ modal auxiliaries
-> James does homework in the evening.
-> Ann has a black long hair.
3.คำกริยาวิเศษณ์ (Adverb)
Adverb หรือ คำกริยาวิเศษณ์ คือ คำที่ทำหน้าที่ขยายคำกริยาและคำคุณศัพท์ โดยขยายใจความเพื่อแสดงว่าประธานกระทำกริยานั้นอย่างไร
Adverb of Time กริยาวิเศษณ์บอกเวลา เช่น Since, Ago, Tomorrow, After, Before เป็นต้น
Adverb of manner กริยาวิเศษณ์บอกลักษณะอาการ เช่น Sadly, Happily, Directly, Wholeheartedly เป็นต้น
Adverb of Place กริยาวิเศษณ์บอกสถานที่ เช่น under, above, there, beside เป็นต้น
Adverb of Frequency กริยาวิเศษณ์บอกความถี่ เช่น every year, often, never, rarely, always เป็นต้น
4.คำคุณศัพท์ (Adjective)
Adjective หรือ คำคุณศัพท์ คือ คำที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม โดยอธิบายว่าคำนามนั้นมีลักษณะอย่างไร
Comparative Adjective คือ เปรียบเทียบขั้นกว่าของสิ่งสองสิ่งที่มีความแตกต่างกัน โดยการเติม -er หลังคำคุณศัพท์ หรือเติม more/lesss หน้าคำคุณศัพท์ เช่น
👉🏼 -er : bigger than, lesser than, taller than, shorter than
👉🏼 more : more practical than, more harmful than
👉🏼 less : less dangerous than, less beneficial than
Superlative Adjective คือ เปรียบเทียบขั้นสุดของสิ่งที่แตกต่างกัน 3 สิ่งขึ้นไป โดยการเติม -est หลังคำคุณศัพท์ หรือเติม most/least หน้าคำคุณศัพท์
👉🏼 -est : the hottest, the coldest, the weakest
👉🏼 most : the most handsome, the most beautiful
👉🏼 least : the least perfect, the least extreme.
5.คำบุพบท (Preposition)
Preposition หรือ คำบุพบท คือ คำที่ใช้บอกทิศทาง เชื่อมคำนาม คำกริยา และคำสรรพนาม เช่น up, on, in, out, with, from เป็นต้น
Compound Preposition คือ คำบุพบทผสม เช่น next to, without, within, out of เป็นต้น
Preposition of Time คำบุพบทบอกเวลา เช่น on, in, at, since, for, until เป็นต้น
6.คำสรรพนาม (Pronoun)
Pronoun หรือ คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนคำนาม คน สัตว์ สถานที่ สิ่งของ เป็นอีกวิธีที่มักใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงคำนามเดิมที่เคยกล่าวไปแล้ว ทำหน้าที่เป็นได้ทั้งกรรมและประธานของประโยค
Possessive Pronoun (สรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ) คือ สรพพนามที่ใช้บอกว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นของใคร เช่น mine, yours, his, her, ours, theirs, its เป็นต้น
Demonstrative Pronoun (สรรพนามบ่งชี้) คือ คำนามที่ใช้บอกว่าสิ่งใดคืออะไร เช่น This, These, Those, That, one, ones เป็นต้น
Relative Pronoun เป็นคำที่ทำหน้าขยายประโยคเพื่อเพิ่มรายละเอียดให้ประธานหรือกรรมของประโยค เช่น who, which, whom, whose, when, where และ that
Reflexive Pronoun (สรรพนามตนเอง) ทำหน้าที่แสดงความเป็นบุคคลหรือกลุ่มเดียวกันของประธานและกรรมของโยค เช่น herself, himself, themselves, yourself, ourselves เป็นต้น
7.และคำสันธาน (Conjunction)
Conjunction หรือ คำสันธาน คือ คำที่ทำหน้าที่เชื่อมคำ วลี และประโยคเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้ใจความที่สมบูรณ์ แบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้
Subordinating Conjunction เชื่อมประโยคหลักเข้ากับประโยครอง โดยสามารถอยู่ได้ทั้งหน้าประโยคหรือกลางประโยคก็ได้ เช่น although, however, as soon as, whereas เป็นต้น
Coordinating Conjunction ใช้เชื่อมคำ วลี ประโยคที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกัน โดนสูตรจำของคำเชื่อมประเภทนี้คือ FANBOY ประกอบไปด้วย For, And ,Nor, But, Or, Yet และ So
Correlative Conjunction คำสันธานประเภทนี้ต้องใช้คู่กันเสมอ ไม่สามารถแยกกันได้ โดยใช้เชื่อมคำ วลี ประโยคที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกัน เช่น either…or, neither…or, both…and, not only…. but also…, so… that เป็นต้น
📌 สอบถามและสมัครรับส่วนลดคอร์สเรียน IELTS Add LINE: @weducationgroup หรือคลิก http://bit.ly/WEDULINEOA
--------------------------------------
🔔กดติดตาม W Education Group เพื่อไม่พลาดทุกข่าวสาร แนะแนวศึกษาต่อต่างประเทศ และคอร์สเรียนล่าสุด ได้ทาง
Facebook – @weducationgroup
Instagram – @weducationgroup
Website – www.weducationgroup.com
TikTok – www.tiktok.com/@w.education YouTube – www.youtube.com/@WEducationGroup
.
.
#WEducation #IELTS #ติวสอบอินเตอร์ #เรียนต่ออินเตอร์ #เรียนต่อต่างประเทศ #DEK67 #DEK68 #DEK69 #เทคนิคการเรียน #สอบเข้ามหาลัย
Comments